หลักสูตร ป.โท เทคโนโลยีสารสนเทศ

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล

ภาษาอังกฤษ : Master of Science Program in Information Technology and Digital Innovation

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็มภาษาไทย : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล)

ชื่อย่อภาษาไทย : วท.ม. (เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล)

ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ : Master of Science (Information Technology and Digital Innovation)

ชื่อย่อภาษาอังกฤษ : M.Sc. (Information Technology and Digital Innovation)

ความสำคัญ ปรัชญา และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

ความสำคัญของหลักสูตร

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศดิจิทัลมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมีบทบาทต่อ การพัฒนาประเทศในด้านต้าง ๆ โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ สังคม และด้านการศึกษา บุคลากรด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศจึงเป็นตัวกลางที่สำคัญในการนำองค์ความรู้ไปพัฒนาต้อยอดสร้างนวัตกรรมเพื่อ นำไปใช้ประโยชน์ในชุมชนและอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ หลักสูตรนี้จึงมีความสำคัญและความ จำเป็นสำหรับหน้วยงานภาครัฐและเอกชนอย้างมาก ในการผลิตบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ ความ เชี่ยวชาญ ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาองค์กรและ ประเทศชาติ

ปรัชญาของหลักสูตร

มุ่งเน้นการผลิตมหาบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถทางวิชาการ และการวิจัยด้านเทคโนโลยี สารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล มีความเชี่ยวชาญในการออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศและ นวัตกรรมดิจิทัล สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อตอบสนอง ความต้องการในการพัฒนาประเทศ ส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร่าง ศักยภาพของตนเอง รวมทั้งให้เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมี ความรับผิดชอบต่อสังคม

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
  • เมื่อสำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้แล้ว มหาบัณฑิตมีสมรรถนะ ดังนี้
    1. มีความรู้ด้านวิชาการ และสามารถนำความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล ไปประยุกต์ใช้ในการทำวิจัยและการทำงานในวิชาชีพได้
    2. มีความสามารถในการออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศและนวัตกรรมเพื่อนำไปใช้ ประโยชน์ในสังคมและชุมชน
    3. มีทักษะในการทำงานเป็นทีม เป็นได้ทั้งผู้นำและผู้ตาม
    4. มีความสามารถในการพัฒนาตนเองในด่านวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง และมีทักษะในการใช้ภาษาและสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการนำเสนอได้อย่างเหมาะสม
    5. มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบต่อสังคม

ค่าธรรมเนียมการศึกษา

ค่าธรรมเนียมการศึกษาเหมาจ่าย ภาคการศึกษาละ 25,000 บาท

โครงสร้างหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล ใช้ระยะเวลาในการศึกษาไม่เกิน 5 ปีการศึกษา

หมวดวิชา จำนวนหน่วยกิต
แผน ก แบบ ก1 แผน ก แบบ ก2 แผน ข
  • 1. หมวดวิชาเฉพาะ

    • 1.1 กลุ่มวิชาบังคับ
    • 1.2 กลุ่มวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า
  • 2
  • -
  • -
  • 2
  • -
  • -
  • 2
  • -
  • -
2. หมวดวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ 36 12 6
จำนวนหน่วยกิตรวม ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต 36 หน่วยกิต 36 หน่วยกิต
1. หมวดวิชาเฉพาะ
แผน ก แบบ ก1 จํานวน 3* หน่วยกิต
1147 811 สัมมนา 1 (Seminar I) 1(1-0-3)*
1147 812 สัมมนา 2 (Seminar II) 1(1-0-3)*
1147 813 สัมมนา 3 (Seminar III) 1(1-0-3)*
แผน ก แบบ ก2 จํานวน 15 หน่วยกิต
แผน ข จํานวน 15 หน่วยกิต
1147 801 วิธีวิจัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล(Research Methods in Information Technology and Digital Innovation) 3(3-0-9)
1147 802 การวิเคราะห์และออกแบบขั้นตอนวิธีดšวยการเขียนโปรแกรมภาษาไพธอน(Analysis and Design of Algorithms with Python Programming) 3(2-2-8)
1147 803 ระบบฐานข้อมูลขั้นสูง (Advanced Database Systems) 3(2-2-8)
1147 804 การวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล(Analysis and Design of Information System and Digital Innovation) 3(3-0-9)
1147 805 เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งและการประยุกต์(Internet of Things Technology and Applications) 3(2-2-8)
1147 811 สัมมนา 1 (Seminar I) 1(1-0-3)*
1147 812 สัมมนา 2 (Seminar II) 1(1-0-3)*
1147 813 สัมมนา 3 (Seminar III) 1(1-0-3)*
กลุ่มวิชาเลือก
แผน ก แบบ ก2 ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต
แผน ข ไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต
1147 821 วิทยาการขšอมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่(Data Science and Big Data Analytics) 3(3-0-9)
1147 822 การทําเหมืองข้อมูลและเหมืองข้อความ (Data and Text Mining) 3(2-2-8)
1147 823 ปัญญาประดิษฐ์ในนวัตกรรมปัจจุบัน(Artificial Intelligence in Recent Innovations) 3(3-0-9)
1147 824 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจในยุคดิจิทัล(Decision Support Systems in Digital Era) 3(3-0-9)
1147 825 การประมวลผลคําพูดและภาษาธรรมชาติ(Speech and Natural Language Processing) 3(3-0-9)
1147 831 การประมวลผลภาพดิจิทัลและคอมพิวเตอร์วิทัศน์(Digital Image Processing and Computer Vision) 3(2-2-8)
1147 832 คอมพิวเตอร์กราฟิกส์สามมิติและความเป็นจริงขยาย(3-Dimensional Computer Graphics and Extended Reality) 3(2-2-8)
1147 841 การคิดเชิงออกแบบเพื่อนวัตกรรม(Decision Thinking for Innovation) 3(3-0-9)
1147 842 การแปรรูปทางดิจิทัล (Digital Transformation) 3(3-0-9)
1147 843 อัจฉริยะเชิงธุรกิจ (Business Intelligence) 3(3-0-9)
1147 851 ระบบปฏิสัมพันธ์อัจฉริยะ (Interactive Intelligent Systems) 3(2-2-8)
1147 852 การพัฒนาแอปพลิเคชันสําหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่แบบครอสแพลตฟอร์ม(Development of Cross-Platform Mobile Application) 3(2-2-8)
1147 853 หัวข้อคัดสรรทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล (Selected Topics in Information Technology and Digital Innovation) 3(3-0-9)
2. หมวดวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ
แผน ก แบบ ก1 จํานวน 36 หน่วยกิต
1147 890 วิทยานิพนธ์ (Thesis) 36 หน่วยกิต
แผน ก แบบ ก2 จํานวน 12 หน่วยกิต
1147 890 วิทยานิพนธ์ (Thesis) 12 หน่วยกิต
แผน ข จํานวน 6 หน่วยกิต
1147 892 การค้นคว้าอิสระ (Independent Study) 6 หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  • 1) นักวิชาการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล
  • 2) นักวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล
  • 3) นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล
  • 4) อาจารย์ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล
  • 5) ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัลขององค์กร
  • 6) ประกอบอาชีพอิสระที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล
  • 7) ผู้ผลิตโมเดลสามมิติ (3D Modeler)
  • 8) ผู้ดูแลระบบเครือข่าย (Network Administrator)
  • 9) ผู้ดูแลความมั่นคงปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย (Security System Administrator)
  • 10) ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบเครือข่าย (Network Specialists)
  • 11) ผู้จัดการระบบเครือข่าย (Network Manager)
  • 12) ผู้ดูแลระบบอินเทอร์เน็ต (Internet Administrator)
  • 13) นักวิชาชีพในสถานประกอบการที่มีการใช้ระบบเครือข่ายและอินเทอร์เน็ต (Network and Internet Supporter)
  • 14) ผู้เชี่ยวชาญในการป้องกันความปลอดภัยของข้อมูล (Data Protection Specialists)
  • 15) ผู้สนับสนุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Supporter)
  • 16) นักพัฒนาโปรแกรมบนเว็บ (Web Programmer)
  • 17) นักออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ (Website Designer and Developer)
  • 18) นักวิเคราะห์และวางแผนโครงการทางดิจิทัล (Digital Project Analyst and Planner)
  • 19) ผู้สนับสนุนการจัดหาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT procurement supporter)
  • 20) ผู้ให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Consultant)
  • 21) ผู้ปฏิบัติการด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Operator)
  • 22) ผู้ฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Trainer)
X line qrcode

สแกนคิวอาร์โค้ดเพื่อเพิ่มเพื่อน LINE

โปรดสแกนคิวอาร์โค้ดนี้ด้วยตัวสแกนโค้ดในแอป LINE